ข่าวเทคโนโลยีสมัยใหม่ 3G โครงข่ายล้ำชีวิต

3G โครงข่ายล้ำชีวิต


3G หรือ Third Generation
 
         เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 อุปกรณ์การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman, กล้องถ่ายรูป และ อินเทอร์เน็ต

      3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง และ การส่งข้อมูลในขั้นต้น ทั้งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น


      ลักษณะการทำงานของ 3G เมื่อเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G กับ 3G แล้ว 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และ สมบูรณ์แบบขึ้น


      เช่น บริการส่งแฟกซ์, โทรศัพท์ต่างประเทศ ,รับ-ส่งข้อความที่มีขนาดใหญ่ ,ประชุมทางไกลผ่านหน้าจออุปกรณ์สื่อสาร, ดาวน์โหลดเพลง, ชมภาพยนตร์แบบสั้นๆ เทคโนโลยี


      3G น่าสนใจอย่างไร

      จากการที่ 3G สามารถรับส่งข้อมูลในความเร็วสูง ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้ อย่างรวดเร็ว และ มีรูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น ประกอบกับอุปกรณ์สื่อสารไร้สายในระบบ 3G สามารถให้บริการระบบเสียง และ แอพพลิเคชั่นรูปแบบใหม่


     เช่น จอแสดงภาพสี, เครื่องเล่น mp3, เครื่องเล่นวีดีโอ การดาวน์โหลดเกม, แสดงกราฟฟิก และ การแสดงแผนที่ตั้งต่างๆ ทำให้การสื่อสารเป็นแบบอินเตอร์แอคทีฟ ที่สร้างความสนุกสนาน และ สมจริงมากขึ้น


      3G ช่วยให้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายและคล่องตัวขึ้น โดย โทรศัพท์เคลื่อนที่เปรียบเสมือน คอมพิวเตอร์แบบพกพา, วิทยุส่วนตัว และแม้แต่กล้องถ่ายรูป ผู้ใช้สามารถเช็คข้อมูลใน account ส่วนตัว เพื่อใช้บริการต่างๆ ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น self-care (ตรวจสอบค่าใช้บริการ), แก้ไขข้อมูลส่วนตัว และ ใช้บริการข้อมูลต่างๆ เช่น ข่าวเกาะติดสถานการณ์, ข่าวบันเทิง, ข้อมูลด้านการเงิน, ข้อมูลการท่องเที่ยว และ ตารางนัดหมายส่วนตัว ?Always On?


      คุณสมบัติหลักของ 3G คือ 

      มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดเครื่องโทรศัพท์ (always on) นั่นคือไม่จำเป็นต้องต่อโทรศัพท์เข้าเครือข่าย และ log-in ทุกครั้งเพื่อใช้บริการรับส่งข้อมูล

     ซึ่งการเสียค่าบริการแบบนี้ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลผ่านเครือข่ายเท่านั้น โดยจะต่างจากระบบทั่วไป ที่จะเสียค่าบริการตั้งแต่เราล็อกอินเข้าในระบบเครือข่าย อุปกรณ์สื่อสารไร้สายระบบ 3G สำหรับ 3G อุปกรณ์สื่อสารไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่โทรศัพท์เท่านั้น แต่ยังปรากฏในรูปแบบของอุปกรณ์ สื่อสารอื่น เช่น Palmtop, Personal Digital Assistant (PDA), Laptop และ PC



ทำไมเป็น 3.9G แต่ไม่เป็น 3G หรือ 4G แล้วเทคโนโลยี 3G กับ 3.9G มันต่างกันอย่างไร
 
3.9 จี เป็นการปรับปรุงจาก 3 จีที่จะวิ่งที่ความเร็ว 7.2 เมกะบิต ให้มีความเร็วเพิ่มสูงขึ้นเป็น 42 เมกะบิตต่อวินาที ซึ่งสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือ อุตสาหกรรมสื่อสารและโทรคมนาคมจะครึกครื้น มีแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย

สรุปแล้ว 3.9 จี เร็วกว่า 3 จีหลายเท่าตัว แถมยังแซงหน้าอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือเอดีเอสแอลที่หลายบ้านเชื่อมต่อผ่านโมเด็มด้วย

3 จีเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเมืองไทย เพราะคนยังเข้าถึงอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ไม่ทั่วถึง จากปัจจุบันที่มีเพียง 3.2 ล้านเลขหมาย หากขยับมาเป็นบรอดแบรนด์ไร้สายยุค 3 จี และ ครอบคลุมทั่วประเทศจะเป็นช่องทางที่คนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้มาก ขึ้นตามเป้าที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ตั้งเป้าไว้ที่ 80% ของประชากร

สำหรับคนที่กังวลด้านราคา คงไม่ต้องห่วงว่า 3 จี หรือ 3.9 จี จะราคาแพง เพราะผู้บริโภคจะเป็นคนตัดสินใจ และผู้ให้บริการต้องแข่งขันกันเพื่อให้บริการที่คุ้มค่าที่สุดสำหรับผู้บริโภค

ความเร็วที่มากขึ้นของ 3.9 จี จะเป็นโอกาสดีสำหรับผู้บริโภคที่จะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา ที่จะช่วยให้เยาวชนค้นหาข้อมูลมาเสริมการเรียน หรือระบบอี-เลิร์นนิ่ง ขณะเดียวกันก็จะมีแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้เข้ากับความต้องการและการใช้ชีวิตของคนที่หลากหลาย


ถ้าดูจริง ๆ 3.9 จี ก็ไวกว่า 3 จี อย่างน้อยประมาณ 20 เท่า ซึ่งสาเหตุที่ไม่กระโดดไป 4G นั้นเป็นเพราะ 3.9G นั้นอัพเกรดได้ง่ายกว่าและมีความพร้อมในเชิงพาณิชย์มากกว่า

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ร่วมแสดงความคิดเห็นกับ Thailandload.blogspot.com

ความคิดของคุณเป็นส่วนหนึ่งในการปรับปรุงเว็บไซต์

ขอบคุณครับ สำหรับความคิดเห็น

*** ต้องขออภัย เรื่องของบทความน่ะครับ เนื่่องจาก บทความแปล มาจาก ภาษาอังกฤษโดยตรงทำให้บทความผิดเพียน จากเดิมน่ะครับ ต้องขออภัยไว้ ณ นี้ด้วย

Share

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More